รู้เบื้องต้น ภาวะเส้นเอ็นไหล่ฉีก

ปัญหาสำคัญของภาวะเส้นเอ็นไหล่ฉีก พบได้มากในหมู่ทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานหนัก หรือหักโหมออกกำลังกาย ซึ่งอาการก่อนมาพบแพทย์คือไม่สามารถขยับไหล่ได้ ในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่ามีผู้ป่วยมาพบแพทย์ด้วยปัญหาภาวะเส้นเอ็นในไหล่ประมาณ 2,000,000 คนต่อปี เมื่อมีเส้นเอ็นไหล่ฉีกขาดจะทำให้มีภาะวะอ่อนแรงลงของข้อไหล่ ทำให้การดำเนินชีวิตในแต่ละวันเป็นไปด้วยความลำบาก ไม่สะดวกอย่างที่เคย เช่น การหวีผม การใส่เสื้อ ก็จะมีอาการเจ็บหรือจะทำได้ยากขึ้น
เรียนรู้กายวิภาคศาสตร์เรื่องข้อไหล่

ร่างกายสร้างขึ้นโดยการยึดติดอวัยวะต่างๆ ขึ้นมา โดยข้อไหล่ประกอบขึ้นจากกระดูก 3 ส่วนคือ กระดูกท่อนแขนด้านบน(humerus) กระดูกสะบัก(scapular)และกระดูกไหปลาร้า(clavicle)
ข้อไหล่ (ห้วกระดูกและเบ้า) จะอยู่ด้วยกันได้ด้วยตัวเยื่อหุ้มข้อ (capsule) และเส้นเอ็นไหล่ (rotator cuff) ตัวเส้นเอ็น rotator cuffประกอบขึ้นจากกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น 4 มัดมาประกอบกันเป็นแผงโอบหุ้มข้อไหล่ทำหน้าที่ให่ความมั่นคงกับข้อไหล่และเป็นแกนหมุนและยกหัวไหล่ นอกจากนี้ยังมีถุง(bursa)ซึ่งให้ความหล่อลื่นและป้องกันการเสียดสีของเส้นเอ็นrotator cuffกับกระดูกส่วนบนของไหล่(acromion) เมื่อมีการอักเสบของเส้นเอ็นหรือมีการฉีกขาดของเส้นเอ็น rotator cuff ตัวถุง (bursa) นี้ก็จะมีภาวะอักเสบและมีอาการเจ็บเกิดขึ้นด้วย

ในกรณีที่เกิดภาวะเส้นเอ็นไหล่ฉีกขาด คงหนีไม่พ้นบริเวณตำแหน่งเส้นเอ็นเกาะกับกระดูกส่วนหัว (humerus) ซึ่งอาจฉีกเส้นเดียวหรือหลายเส้นก็ได้ การฉีกขาดอาจเริ่มจากการถลอกบริเวณด้านบนของเส้นเอ็น (ซึ่งเกิดจากการเสียดสีของหินปูนบริเวณกระดูกด้านบน (acromion) กับตัวเส้นเอ็น) หรืออาจกิดจากภาวะเสื่อม (degeneration) ของตัวเส้นเอ็นเองหรือเกิดจากการใช้งานหรืออุบัติเหตุ ด้วยเหตุทั้งหมดที่กล่าวมข้างต้นนี้ทำให้เกิดภาวะเส้นเอ็น ที่เรียกว่า rotator cuff เกิดฉีกขาดขึ้น ในระยะแรกอาจไม่ได้เกิดการฉีกขาดทั้งหมดเลยทีเดียวอาจจะแค่ฉีกบางส่วนแล้วค่อยๆ ลุกลามเป็นมากขึ้นจนฉีกขาดตลอดความหนาของเส้นเอ็น เราจึงนิยมแบ่งเป็นชนิดต่างๆ คือ
แบ่งตามลักษณะของการฉีกขาด
1. เส้นเอ็นฉีกขาดบางส่วน (partial rotator cuff tear)
2. เส้นเอ็นฉีกขาดตลอกความหนา (full thickness rotator cuff tear)
3. เส้นเอ็นฉีกขาดขนาดใหญ่ (massive rotator cuff tear) ซึ่งมักจะมีการหดรั้งของตัวกล้ามเนื้อและปลายเส้นเอ็นที่ฉีกขาดไปไกลจากตำแหน่งเกาะเดิม